๑. มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (มูลนิธิ สอวน.)
๒. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสาขาต่างๆ ในระดับนานาชาติ มูลนิธิ สอวน. จึงได้มอบให้มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค ๑๑ แห่ง และโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ๖โรงเรียน เป็นศูนย์ สอวน. เพื่อดำเนินการอบรมและเตรียมความพร้อม รวมทั้งคัดเลือกนักเรียนเข้าไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ ตลอดจนเตรียมครูวิทยาศาสตร์ ครูคณิตศาสตร์ให้มีคุณภาพและมีความพร้อมที่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียน ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๓ โดยมีสาขาที่ดำเนินการ ๖ สาขา คือ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ และในปีการศึกษา ๒๕๔๗ ได้เพิ่มศูนย์ สอวน. ขึ้นอีก ๒ ศูนย์ คือ ศูนย์ สอวน. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และศูนย์ สอวน. โรงเรียนเตรียมทหาร โดยการดำเนินการที่ผ่านมามีผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ สอวน. คือ สามารถคัดเลือกนักเรียนจากศูนย์ สอวน.ไปเป็นตัวแทนแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้พัฒนาความรู้และเพิ่มศักยภาพของครูจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ มูลนิธิ สอวน. ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการสนับสนุนให้สาขาวิชาต่างๆ จัดแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศโดยการคัดเลือกนักเรียนที่ผ่านการอบรมค่าย ๒ เพื่อเป็นตัวแทนศูนย์ สอวน.ภูมิภาค จำนวน ๑๓ ศูนย์ ศูนย์ละ ๖ คน และศูนย์กรุงเทพมหานคร ที่จัดคัดเลือกตัวแทนนักเรียน จำนวน ๑๘ คน รวมทั้งสิ้น ๙๖ คน
ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ มูลนิธิ สอวน. ได้เพิ่มนักเรียนนอกโครงการพิเศษ จำนวน ๓ คน รวมทั้งสิ้น ๙๙ คน มาสอบแข่งขันโดยใช้ข้อสอบมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งออกโดยคณะกรรมการวิชาการกลางและมีอาจารย์พร้อมครูสังเกตการณ์ของแต่ละศูนย์ร่วมพิจารณาคัดเลือกข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนนตลอดจนประเมินผลและตัดสินผลการแข่งขันด้วยมาตรฐานเดียวกับการแข่งขัน International Chemistry Olympiad (IChO) จัดรางวัลให้เป็นเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และประกาศเกียรติคุณ จากนั้นจึงคัดเลือกนักเรียนที่สอบผ่านเกณฑ์จำนวน ๕๐ คน เพื่อเข้าค่ายเคมีโอลิมปิก ค่ายที่ ๑ ของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ต่อไป
สำหรับสาขาเคมีได้ดำเนินการจัดแข่งขันโอลิมปิก สอวน.มาแล้ว ๑๐ ครั้ง โดยครั้งที่ ๑๐ จัดขึ้นเมื่อ ๒๘ เมษายน – ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันและเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของกิจกรรมดังกล่าว มูลนิธิ สอวน. จึงได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันเคมีโอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ ๑๑ โดยมีกำหนดจัดช่วงวันที่ ๑ – ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
๑. ยกระดับมาตรฐานการศึกษาวิชาเคมีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้ทัดเทียมนานาประเทศ
๒. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้แสดงความสามารถด้านสติปัญญาและพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้น รวมทั้งให้นักเรียนที่เป็นตัวแทนศูนย์ต่างๆ ได้เข้าร่วมแข่งขันวิชาการสาขาเคมีในระดับประเทศ
๓. เพื่อให้คณาจารย์จากศูนย์ต่างๆ ได้ฝึกประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการสาขาเคมี สอวน. รวมทั้งได้ร่วมกันวางแผนและพัฒนาหลักสูตรการอบรม ตลอดจนพัฒนาอุปกรณ์การปฏิบัติการและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน
๔. เพื่อให้ครูสังเกตการณ์จากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศได้มีประสบการณ์ในการจัดแข่งขันวิชาการสาขาเคมีระดับประเทศ
๕. เพื่อคัดเลือกนักเรียนเป็นตัวแทนสอบแข่งขันเข้ารับการอบรมเข้ม โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในระดับสูงต่อไป
๑. กำหนดการแข่งขัน วันที่ ๑ – ๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
๒. สถานที่จัดแข่งขัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ จะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากศูนย์ สอวน. วิชาเคมีทั่วประเทศ จำนวน ๑๔ ศูนย์ และนักเรียนนอกโครงการพิเศษ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ภาค | ที่ | ศูนย์ สอวน. | อาจารย์ผู้แทนศูนย์ | ครูสังเกตการณ์ | นักเรียน |
เหนือ |
๑ | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ๒ | ๑ | ๖ |
๒ | มหาวิทยาลัยนเรศวร | ๒ | ๑ | ๖ | |
ใต้
|
๓ | มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ | ๒ | ๑ | ๖ |
๔ | มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | ๒ | ๑ | ๖ | |
๕ | มหาวิทยาลัยทักษิณ | ๒ | ๑ | ๖ | |
ตะวันออกเฉียงเหนือ
|
๖ | มหาวิทยาลัยขอนแก่น | ๒ | ๑ | ๖ |
๗ | มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (๒ ทีม) | ๒ | ๑ | ๖ | |
๘ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | ๒ | ๑ | ๖ | |
ตะวันออก | ๙ | มหาวิทยาลัยบูรพา | ๒ | ๑ | ๖ |
ตะวันตก | ๑๐ | มหาวิทยาลัยศิลปากร | ๒ | ๑ | ๖ |
กลาง
|
๑๑ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ | ๒ | ๑ | ๖ |
๑๒ | โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | ๒ | ๑ | ๖ | |
๑๓ | โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาป้องกันประเทศ | ๒ | ๑ | ๖ | |
กรุงเทพฯ | ๑๔ | โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) | ๖ | ๓ | ๑๕ |
นักเรียนนอกโครงการพิเศษ | - | - | ๖ | ||
รวม | ๓๒ | ๑๖ | ๑๐๒ |
สรุปจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้
นักเรียนที่เข้าแข่งขัน | จำนวน | ๑๐๒ | คน | |
อาจารย์ผู้แทนศูนย์ | จำนวน | ๓๒ | คน | |
ครูสังเกตการณ์ | จำนวน | ๑๖ | คน | |
คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ | จำนวน | ๒๐ | คน | |
คณะกรรมการและอนุกรรมการดำเนินการฝ่ายต่างๆ | จำนวน | ๑๑๐ | คน | |
นักศึกษาพี่เลี้ยง | จำนวน | ๒๐ | คน | |
รวม | จำนวน | ๓๐๐ | คน |
๑. ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสอบวิชาเคมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อย่างละ ๕ ชั่วโมง ตามวันและเวลาที่กำหนด
๒. การประเมินผลสอบวิชาเคมีใช้คะแนน ภาคทฤษฎี : ภาคปฏิบัติ ในอัตราส่วน ๖๐ : ๔๐
๓. คณะกรรมการฝ่ายวิชาการเป็นผู้จัดทำข้อสอบต้นฉบับ โดยมีอาจารย์ผู้แทนศูนย์และครูสังเกตการณ์ของแต่ละศูนย์ร่วมพิจารณาข้อสอบและเกณฑ์การให้คะแนน
๔. การตรวจข้อสอบ การประเมินและตัดสินผลสอบ ดำเนินการ โดยคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการ
๕. อาจารย์ผู้แทนศูนย์ สามารถเสนอความเห็นเกี่ยวกับผลการประเมินการสอบของผู้เข้าแข่งขันต่อคณะอนุกรรมการวิชาการได้ แต่การตัดสินผลการแข่งขันอยู่ในอำนาจของอนุกรรมการฝ่ายวิชาการเท่านั้น
๖. คณะอนุกรรมการวิชาการกำหนดเกณฑ์การมอบรางวัล ซึ่งแบ่งเป็น ๔ ระดับ คือ เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง และประกาศเกียรติคุณ โดยมีอาจารย์ผู้แทนศูนย์และสังเกตการณ์ของแต่ละศูนย์ร่วมพิจารณาเกณฑ์
๗. ผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนในอันดับที่ ๑-๕๐ จะได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าค่ายเคมีโอลิมปิกค่ายที่ ๑ ของ สสวท.ต่อไป
๑. นักเรียนได้แสดงความสามารถด้านสติปัญญาและพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้น
๒. คณาจารย์จากศูนย์ฯ และครูสังเกตการณ์จากโรงเรียนฯ มีประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันวิชาการสาขาเคมีระดับประเทศ
๓. คณาจารย์จากศูนย์ต่างๆ สามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการจัดการแข่งขันไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และอุปกรณ์การปฏิบัติการและอุปกรณ์การเรียนการสอนของโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน
๔. นักเรียนที่เป็นตัวแทนสอบแข่งขันโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สามารถได้รับรางวัลจากการแข่งขันระดับนานาชาติ