Get Adobe Flash player

นิสิตเคมีร่วม Asian Students’ Parabolic Flight 2013


น.ส. ศรีสุดา โรจน์เสถียร นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาเคมี เข้าร่วมโครงการ The 2013 session of the Asian Students’ Parabolic Experiment Contest ระหว่างวันที่ 25 - 26 ธันวาคม 2556 ณ สนามบินนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น โดยทำการทดลองเรื่อง การศึกษาไซโคลซิสของสาหร่ายหางกระรอกในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง (The Study of Hydrilla verticillata' s cyclosis in zero-gravity.) 

"การเดินทางไปทดลองที่ญี่ปุ่นครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีและมีค่ามากค่ะ" น.ส. ศรีสุดา กล่าว

 

12

บทสัมภาษณ์ น.ส.ศรีสุดา โรจน์เสถียร   

จากการได้เข้าร่วมทำการทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงบนเครื่องบินพาราโบลิก ของ JAXA ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น กับเพื่อนๆทีมเยาวชนนักทดลอง จาก 3 ประเทศ คือ มาเลเซีย ไทย และ เวียดนาม

13

 

  • ตั๋วเครื่องบินนี้ท่านได้แต่ใดมา

ทีมเราได้ส่งโครงงานวิจัยเข้าประกวด ในโครงการ The 8th Thailand Zero-Gravity Experiment Contest ประจำปี พ.ศ. 2556 จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAPAN AEROSPACE EXPLORATION AGENCY (JAXA) เพื่อนำโครงงานวิทยาศาสตร์ของเยาวชนไทย ไปทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนเครื่องบินพาราโบลิกของ JAXA ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น จากผู้สมัครทั้งสิ้น 12 ทีม คณะกรรมการพิจารณาเลือกโครงงานที่จะได้สิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไทยเพียง 1 ทีม และทีมเราได้สิทธิ์นั้น

 

ผลการคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทย

1

3

2

5 

  • ทีม immortal รวมทีมกันได้อย่างไร สมาชิกมีใครบ้าง

หนูเข้าร่วมทีมนี้เพราะเคยได้รับข่าวโครงการนี้ตั้งแต่สมัยม.ปลาย เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยแล้วมีจังหวะที่จะทำ จึงชวนเพื่อนๆซึ่งเป็นเพื่อนจากโรงเรียนเก่า(จุฬาภรณ์ฯเพชรบุรี) มาช่วยกันคิดประเด็นที่อยากทำ แล้วพบว่าเรื่องที่ช่วยกันคิดกับเพื่อนๆเป็นเรื่องที่น่าสนใจ จึงอยากทำต่อมาเรื่อยๆ ทีมเราชื่อทีม Immortal มีสมาชิก 4 คน

ประกอบด้วย

1) น.ส.ศรีสุดา โรจน์เสถียร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (หัวหน้าทีม)

2) นายสุทธิเกียรติ ช่างเรือนงาน ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

3) นายธนทรัพย์ ก้อนมณี ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

4) นายปฐมพงษ์ เป้ามีพันธ์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

มีอาจารย์ที่ปรึกษา 2 ท่าน คือ

1) ดร.สวัสดิ์ ตันติพันธุ์วดี สวทช.

2) ดร.ชรินทร์ โหมดชัง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 7

6

 

  • เที่ยวบินนี้มีความพิเศษอย่างไร

เที่ยวบินนี้มีความพิเศษตรงที่ การลักษณะการบินเเบบกราฟพาราโบลาคว่ำ ซึ่งทำให้เเรงโน้มถ่วงในเครื่องบินเปลี่ยนไป โดยแรงโน้มถ่วงจะเปลี่ยนจากค่าปกติแล้วเข้าสู่ hyper-gravity จากนั้นจะกลายเป็น micro-gravity หรือสภาวะไร้น้ำหนัก ซึ่งการวิจัยในสภาวะไร้น้ำจากจากเที่ยวบินนี้ มักเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวิจัยหรือการดำรงชิวีตในอวกาศ

4

  10

  • 11
  • พูดถึงการทดลองของ ทีม immortal หน่อยค่ะ 

การทดลองชื่อ การศึกษาไซโคลซิสของสาหร่ายหางกระรอกในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง หรือ The Study of Hydrilla verticillata' s cyclosis in zero-gravity. ไซโคลซิสคือ กระบวนไหลของไซโทพลาสซึมในเซลล์ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการขนส่งสารรวมถึงการเคลื่อนที่ของออร์แกแนลต่างๆ ในเซลล์สิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไซโคลซิสยังเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การทดลองนี้จะศึกษาไซโคลซิสจากการวัดอัตราเร็วและสังเกตรูปแบบการเคลื่อนที่ของคลอโรพลาสต์ภายในเซลล์สาหร่ายหางกระรอกในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเพื่อเปรียบเทียบกับไซโคลซิสในสภาวะที่มีแรงโน้มถ่วงปกติ โดยคาดว่าผลจากการทดลองนี้จะเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับการปลูกพืชในอวกาศเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสำรวจอวกาศต่อไป

8

 

9

 

  • ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

Asian Students’ Parabolic Flight 2013